พระใหม่พลาซ่า


พระใหม่

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2560

หลวงพ่อคูณปริสุทโธรุ่นสุดท้าย รุ่นแช่น้ำมนต์

หลวงพ่อคูณปริสุทโธรุ่นสุดท้าย รุ่นแช่น้ำมนต์

วัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

สุดยอดวัตถุมงคลยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี ฉลองครบรอบ 72 ปี  6 รอบ ปลุกเสก 72 วัน
นับว่าเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจาก หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการวัดบ้านไร่ จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคล รุ่นแซยิด  6  รอบ เนื้อทองคำนากเงิน หน้าทองคำ เงิน และทองแดง เพื่อแจกให้เป็นสิริมงคลกับลูกลูกและหลานทุกๆคน ในโอกาสครบ 6 รอบ 72 ปี ในวันที่ 4 ตุลาคม 2537  จำนวน 84000 องค์


ความเป็นมาการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นแช่น้ำมนต์

เนื่องจากวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2537 ที่จะถึงนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเดชพระคุณ พระญาณวิทยาคมเถร หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ครบ 72 ปี  6 รอบ นับเป็นโอกาสที่สำคัญอีกวาระหนึ่ง
พระเดชพระคุณ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 72 ปี 6 รอบ คลื่นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้นับว่ายิ่งใหญ่ที่สุด เพราะว่าหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลในอ่างน้ำมนต์ตลอด 72 วัน แล้วจึงนำออกให้แก่ลูกลูกและหลานนำไปติดตัวเพื่อเป็นสิริมงคลมีโชคลาภคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง
วัตถุมงคลรุ่นแช่น้ำมนต์ฉลองครบรอบ 72 ปี 6 รอบนี้พระเดชพระคุณ หลวงพ่อคูณปริสุทโธ สร้างเป็นสุดท้ายของวัดบ้านไร่ เพราะท่านได้ปรารภว่าต่อไปนี้จะไม่สร้างเหรียญทองคำนาคเงินเงินหน้าทองคำนวโลหะและพระผงต่างๆอีกต่อไป จัดสร้างก็เพียงแต่เหรียญทองแดงเท่านั้น
วัตถุมงคลรุ่นแช่น้ำมนต์ฉลองครบรอบ 72 ปี 6 รอบ ที่จัดสร้างทั้งหมด 5 พิมพ์ดังนี้ รูปหล่อเนื้อเงินขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ พระปิดตา พระกริ่งหลวงพ่อคูณ เหรียญแจกรูปหล่อเนื้อเงินกับเหรียญแจกนั้นไม่ได้แช่น้ำมนต์ส่วนพระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะพระปิดตาพระกริ่งนั้นแช่น้ำมนต์ แต่วัตถุมงคลทั้ง 5 พิมพ์นี้พระเดชพระคุณหลวงพ่ออธิษฐานจิตปลุกเสกตลอด 72 วันเหมือนกัน

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น "จอมจักรพรรดิ"

 วัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น "จอมจักรพรรดิ"



พิธีกรรม เผาดวงชะตาเมือง ทำพิธีที่ป่าช้าวัดชะเมา ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการล้างอาถรรพ์ดวงชะตาเมืองเดิม ซึ่งเรียกว่า ดวงราหูชิงจันทร์ หรือดวงพินธุบาทว์ ลักษณะดวงดาวเสาร์ ซึ่งเป็นดาวภัยเล็งจุดกำเนิด วางดาวอังคารให้อยู่ในภพที่ห้า เจ้าของดวงชะตาเช่นนี้เหมือนถูกสาป อาภัพอัปภาคย์ บ้านแตกสาแหรกขาด ต้องโทษทัณฑ์ไม่หยุดหย่อน เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด บ้านเมืองเจริญอยู่ได้ไม่นานก็ต้องเสื่อมทรามตกต่ำลง การเผาดวงชะตาเมืองในครั้งนี้ ใช้ เพชฌฆาตฤกษ์ คือ เลยเที่ยงคืนไป 1 นาที ของปลายปี พ.ศ. 2528

และพิธีกรรมพลิกธรณี ทำพิธีที่ริมรั้วป่าช้าวัดชะเมา พลิกดินที่ชั่วร้ายสกปรกฝังไว้เบื้องล่าง เอาดินดีขึ้นมาไว้เบื้องบน เพื่อบ้านเมืองจะมีความร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรืองต่อไปในวันข้างหน้า

วัดชะเมาจึงเป็นสถานที่หนึ่ง ที่มีความผูกพันในการสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพมาแต่แรก

ขณะ นี้ทางวัดชะเมาได้จัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพขึ้น รุ่น "จอมจักรพรรดิ" ได้ทำพิธีเททองปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ณ มณฑลพิธีวัดชะเมา และจะทำพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2550 ณ มณฑลพิธีศาลหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช

วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้น ประกอบด้วย พระพุทธสิหงิค์บูชา, องค์จตุคามรอบหลักเมือง, องค์จตุคามปางสมาธินาคปรก, องค์จตุคามปางมหาราชลีลา, องค์จตุคามปางประทานพร,องค์จตุคามปางอิทธิฤทธิ์, ซึ่งมี 3 ขนาด คือ ขนาดกว้าง 5 นิ้ว, 2 นิ้ว และขนาดคล้องบูชากว้าง 2 เซนติเมตร และดวงตราจตุคามรามเทพ ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร มีทั้งเนื้อขาว เนื้อดำ เนื้อไม้ และแบบปิดทองคำแท้.

บทความน่าสนใจ:หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระศรีอริยเมตไตรย วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ

พระศรีอริยเมตไตรย วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ



"หลวงพ่อโต" หรือ "พระศรีอริยเมตไตรย" พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410

ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน

เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น

ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโตกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม ซึ่งพระครูกัลยานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ได้เขียนไว้เกี่ยวกับการก่อสร้าง ซึ่งมีปรากฏในจารึกศิลาว่า

"ศุภมัสดุพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วได้ 2463 ปีวอก โทศก (จ.ศ.1282) พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้ลงมือทำการปฏิสังขรณ์เมื่อเดือน 11 ณ วันพฤหัสบดี แรม 1 ค่ำ ประวัติเดิมของพระครูสังฆบริบาล อุปสมบทที่แขวงตะนาว เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาสร้างวัดเข่ชั้นบันไดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วได้มาศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย ณ สำนักวัดบวรนิเวศ ในบารมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 5 พรรษา เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์ จึงได้มาทำการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์โตนี้ พร้อมด้วยเจ้าฟ้า ทายก ทายิกา ราษฎร จนถึงกาลบัดนี้สิ้นเงินรายได้รายจ่ายในการปฏิสังขรณ์ 5 หมื่นเศษ"

หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระอินทรสมาจาร" ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต

ในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490" ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า

"ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อเป็นพระครูสังฆรักษ์ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจาร ทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)"

พระศรีอริยเมตไตรย(จบ) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ

อย่าง ไรก็ตาม ภายหลังได้มีการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมคือ ปีพ.ศ. 2481 ได้ทำประภามณฑล (พระรัศมี) ประดับองค์หลวงพ่อโต และประดับกระเบื้องโมเสกทองคำ 24 เค ที่พระพักตร์ พระเศียร และพระหัตถ์ และได้เปลี่ยนโมเสกใหม่อีกครั้งเมื่อปีพ.ศ. 2509 เนื่องจากของเดิมหมองคล้ำและชำรุด

พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีอัญเชิญโมเสกทองคำขึ้นประดับเป็นรูปอุณาโลม ณ พระนลาฏองค์หลวงพ่อโต

พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสถิต ณ ยอดพระเกศองค์หลวงพ่อโต และทรงปลูกหน่อพระศรีมหาโพธิ์

อย่างไรก็ตามต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโตตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องด้วย "หลวงพ่อโต" ที่พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ที่สร้างขึ้นเป็นพิมพ์หนึ่งในจำนวนหลากหลายพิมพ์ของหลวงปู่ภู เป็นพระเครื่องเนื้อปูนปั้นผสมผง ที่กล่าวกันว่ามีส่วนผสมของผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ผสมอยู่ด้วย จึงกล่าวได้ว่า พระเครื่องของหลวงปู่ภูใช้แทนพระสมเด็จฯ ได้เป็นอย่างดี

พระเครื่องพิมพ์อุ้มบาตร มีพุทธลักษณะทรงห้าเหลี่ยม องค์พระปฏิมากรประทับยืนบนอาสนะบัว ภายในซุ้มกรอบ 5 เหลี่ยม ด้านหลังองค์พระเครื่องเรียบปราศจากอักขระใดๆ

อย่างไรก็ตาม มีเหรียญปั๊ม "พระศรีอริยเมตไตรย" ที่น่าสนใจยิ่งของพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งมีความเป็นมาคือ เมื่อปีพ.ศ. 2467 ที่พระอินทรสมาจารย์ (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ทำการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ "หลวงพ่อโต" สืบต่อจากที่คั่งค้างอยู่ เป็นเวลา 4 ปีจึงแล้วเสร็จ
และมีงานสมโภชเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโตในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา ต่อเมื่อปี พ.ศ. 2521 ภายหลังอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิต ณ ยอดพระเกศองค์ "หลวงพ่อโต" การจัดงานประจำปีจึงเปลี่ยนไปเป็นงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และปิดทองหลวงพ่อโต

สันนิษฐานว่าในการสมโภชเมื่อปีพ.ศ. 2471 นั้น ได้มีการสร้าง "เหรียญพระเครื่อง" ขึ้นมาด้วย ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันว่า เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นทันในช่วงพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ยังมีชีวิตอยู่ และต้องร่วมปลุกเสกด้วยอย่างแน่นอน

เหรียญรุ่นดังกล่าวนี้ มีด้วยกัน 2 แบบพิมพ์ เป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา มีหูในตัว เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

แบบ แรกนั้น ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระศรีอริยเมตไตรย "หลวงพ่อโต" ประทับยืนปางอุ้มบาตร บนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขอบเหรียญแกะเป็นลวดลายกระหนกสวยงาม ด้านหลังพื้นเหรียญเรียบ ปรากฏข้อความอักษร 3 บรรทัด ว่า

"พระศรีอารย์ ยืนโปรดสัตว์ วัดอินทรวิหาร"

ประทับยืนปางอุ้มบาตรบนฐานอาสนะบัวหงายภายใต้ฉัตร 7 ชั้น ขอบเหรียญแกะลวดลายสวยงาม ด้านหลังพื้นเรียบ มีข้อความอักษร 5 บรรทัด ว่า

"พระศรีอารย์ ยืนโปรดสัตว์ ให้พ้นทุกข์ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ"

เป็นเหรียญเก่าอันน่าเก็บสะสมในทำเนียบ "เหรียญพระพุทธ"
ที่มา:ข่าวสด
เหรียญที่ร้อนแรงที่สุด : หลวงพ่อสาคร เสมา6รอบ