พระใหม่พลาซ่า


พระใหม่

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธรูปสำคัญเมืองไทย หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน


หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ลืมพระเนตร พุทธศิลป์สมัยสุโขทัย ประดิษฐานภายในอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน
 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ตามประวัติเล่าสืบกันมาว่าเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ได้มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยามาจากทางเหนือ สันนิษฐานว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีข้าศึกประชาชนคงอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบหนี และได้ลอยตามน้ำมาบางครั้งก็ผุดให้คนเห็น จนเป็นที่โจษจันกันทั้ว ครั้นถึงตำบลหนึ่งเหล่าประชาชนราว ๓ แสนคนได้ช่วยกันฉุดลากชะลอองค์ท่านก็ไม่สามารถนำขึ้นสู่ฝั่งได้ กลับจมหายไปในแม่น้ำอีก ชาวตำบลนั้นถูกเรียกชื่อว่าตำบลสามแสน ต่อมาเพี้ยนเป็นสามเสน
จากนั้นได้ลอยไปอีกหลายแห่งจนกระทั่งองค์หนึ่งไปขึ้นประดิษฐานที่ วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม องค์ต่อมาไปขึ้นประดิษฐานที่วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา องค์สุดท้ายได้ลอยไปในคลองสำโรงแต่ก็ไม่มีใครสามารถฉุดขึ้นได้ ต่อมาได้ผู้มีปัญญาคนหนึ่งชักชวนกันทำแพและตั้งจิตอธิษฐานผูกแพติดกับองค์พระว่าหากประสงค์จะขึ้นที่ใดให้แพหยุดอยู่ตรงนั้น และก็เป็นจริงดังที่ตั้งจิตอธิษฐาน แพพร้อมกับองค์พระพุทธรูปได้ลอยไปหยุดบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในปัจจุบัน และได้ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวบางพลีใหญ่ในมาตราบเท่าทุกวันนี้
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือและยอมรับกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของไทย โดยเฉพาะเมื่อถึงงานประเพณีรับบัวครั้งใดมักจะอัญเชิญหลวงพ่อโตประดิษฐานบนเรือแห่ไปตามลำน้ำให้สาธุชนได้สักการบูชาเป็นประเพณีนิยมสืบมา
บทความแนะนำ:เหรียญหล่อโบราณ รุ่นแรก หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี

พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี



พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป ตำบลรั้วใหญ่อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พระกรุพระเก่า พระในตระกูลพระชุนแผนยอดนิยม อีกกรุหนึ่งของเมืองบรรหาร-แจ่มใสบุรี พระแตกกรุขึ้นกรุมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ที่แตกกรุออกมาล่วงหน้านั้นเกิด จากสภาพองค์พระเจดีย์ที่มีอายุหลายร้อยปีชำรุดเสียหายทำให้เกิดการค้นพบ พระเนื้อดินเผา หลากหลายพิมพ์เป็นที่รู้จัก และ ได้รับความนิยมจาก ท่านผู้นิยมสะสมพระเครื่อง โดยทั่วไป
พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก องค์นี้เป็นพระที่ขึ้นกรุวัดพระรูป ด้วยมีการขึ้นกรุหลายกรุด้วยกัน เช่น กรุวัดละคร กรุวัดปากแสงจันทร์ วัด ประตูสาร และ ในแต่ละกรุที่ขึ้นนั้นมีจำนวนน้อย ประมาณไม่เกิน ๕๐๐ ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากเท่าไรมักหากเปรียบเทียบกันกับพระเนื้อดินพิมพ์ อื่นๆ ที่ขึ้นกรุมาพร้อมกัน เช่น พระชุดกิมตึ๋ง นารายณ์สี่กร มอญแปลงรูป เป็นต้น ด้วยพระพุทธคุณที่เชื่อกันว่า ดีเด่นทั้งทางด้านคงกระพันชาตรี และ เมตตามหาเสน่ห์ ที่เป็นคุณลักษณะพิเศษของ ขุนแผนแสนสะท้าน เจ้าเมือง สุพรรณบุรีในสมัยแผ่นดินของ สมเด็จพระพันวษา แผ่นดินอโยธยาศรีราม เทพนคร ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยากว่าหนึ่งร้อยปี
พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูปเป็นพระที่มีเนื้อดิน ละเอียดหนึกนุ่มปราศจากเม็ดกรวดเป็นทรายทองเม็ดทรายเงิน ที่มีความ แตกต่างไปจาก เนื้อดินของ พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุ? ด้วยมีขอส้นนิษฐานเกี่ยวกับยุคสมัยในการสร้าง พระ ขุนแผน กรุวัดพระรูป มีอายุในการสรางประมาณ หกร้อยกว่าปี หลังจากการ สร้างพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง ห่างกันถึงกว่าหนึ่งร้อยปี ดังนั้น ค่าราคา ความนิยมในการแลกเปลี่ยนของ พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาฝาฯ!ก กรุวัด พระรูป อยู่ที่หลักหมี่นกลาง ๆ แต่ในความหายากแล้ว จัดว่าหาได้ยากแบบ สุด ๆ แบบเลือดตาแทบกระเด็นกว่าจะมีโอกาสพบเจอได้เห็นสกองค์หนึ่ง และ ยิ่งแบบสวยระดับแชมป์ ๔ โล่ อย่างองค์ดาราองค์นี้เจ้าของยงสุดหวง ไม่ยอมเปิดราคาขาย จึงไม่มีโอกาสที่จะได้ต่อรองราคาก้นเลย
ไม่ยอมเปิดราคาขาย จึงไม่มีโอกาสที่จะได้ต่อรองราคากันเลย
บทความพระเครื่องน่าสนใจแนะนำ : อิทธิฤทธิ์เจ้าแม่ตะเคียนคู่

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระขุนแผนพลายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ

พระขุนแผนพลายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ



พระผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม เริ่มต้นสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2515    เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้กับผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ในงานผูกพัทธสีมา
อุโบสถวัดละหารไร่ ว่ากันว่าหลวงปู่ทิมไต้ตั้งใจสร้าง “ผงพรายกุมารมหา ภูติ” ผสมลงในเนื้อพระ เพื่อให้วัตถุมงคลชุดนี้มีความเข้มขลัง
“พระขุนแผนผงพรายกุมาร” คือหนึ่งในวัตถุมงคลยอดนิยมของ หลวงปูทิม มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก และแยกเป็น 2 บล็อกคือบล็อก ลองพิมพ์ เนื้อหาค่อนข้างหยาบ หรือที่เรียกกันว่า “เนื้อกระยาสารท” ด้าน หลังไม่ฝังตะกรุด ส่วนบล็อกนิยมหรือบล็อกแรก พิมพ์ทรงสวยงาม พิมพ์
ใหญ่ด้านหลังมีทั้งแบบฝังตะกรุดและไม่ได้ฝัง ตะกรูด ส่วนพิมพ์เล็กไม่ฝังตะกรุด
ด้านเนื้อหามีหลากหลายสี อาทิ เนื้อดำ เนื้อเหลือง เนื้อแดง เนื้อชมพู ส่วนใหญ่ องค์พระจะทาทองบรอนซ์ที่ผิว และที่พิเศษคือ จะมี “พิมพ์ใหญ่บล็อกแรก หลังแบบ” ซึ่งหา ยากมาก ปัจจุบันมีแต่คนตามหาเพื่อครอบครอง เป็นเจ้าของ
อานุภาพของพระผงพรายกุมาร... บอกได้คำเดียวว่าเกินบรรยาย
บทความพระกริ่งพระชัยวัฒน์ยอดนิยมแนะนำ:พระกริ่งชนะคน

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เหรียญหลวงพ่อดับภัยรุ่นแรก ปี 2518 จ.เชียงใหม่

เหรียญหลวงพ่อดับภัย รุ่นแรก
วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่


หลวงพ่อดับภัย แห่งวัดดับภัย เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา เชียงแสนยุคแรก หรือเรียกกันเป็นภาษาซาวบ้านว่าพระเชียงแสนสิงห์ 1 พุทธลักษณะปางมารวิชัย ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ประวัติการสร้าง สลับซับซ้อนแต่คาดว่าน่าจะสร้างประมาณปีพ.ศ. 1600- 1800
ปัจจุบันนี้ประชาชนทั้งหลายต่างก็ให้ความเคารพบูชาในองค์ หลวงพ่อดับภัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมักประสบเหตุการณ์แคล้ว คลาดจากโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุและอุบัติภัยต่างๆ นานาจนเป็นที่ เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ผู้แสวงหาโชคลาภต่างก็มาขอมิได้ชาดสาย และ สมประสงค์ที่ตนตั้งไว้ไปตามๆ กัน แม้กระทั่งนักนิยมเดินทางทำงาน ในทางที่เสียงๆจะต้องนำรูปเทียนมาขอพรจากหลวงพ่อดับภัยเสมอ เพื่อให้ปลอดภัยจากการเดินทาง ท่านจะกราบสักการะบูชาขอพร จากหลวงพ่อดับภัยได้ทุกเวลาในพระวิหารวัดดับภัย
พิธีมหาพุทธาภิเษกเหรียญหลวงพ่อดับภัยรุ่นแรกเมื่อวันที่ 1 - 3 พฤษภาคม 2518 นั้นพระอธิการบุญชม ปภสฺสโร เจ้าอาวาสวัด ดับภัยพร้อมคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างเหรียญพระพุทธวัดดับภัยขึ้น เพื่อนำรายได้ทั้งหมดสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ โดยสร้างเป็น หลายเนื้อจำแนกได้ดังนี้
1.    เนื้อทองคำ ตามสั่งจอง
2.    เนื้อเงิน ตามสั่ง'จอง
3.    เนื้อนวะโลหะแก่เงิน 9,999 เหรียญ
4.    เนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ
5.    เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ 9 เหรียญ

พระเกจิอาจารย์ร่วมพิธีมากมายอาทิเช่น หลวงปู่คำแสน วัด สวนดอก, หลวงปู่แสน วัดป่าดอนมูล,หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง, หลวงพ่อสนิท วัดช่างฆ้อง, ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี และ อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก เป็นต้น
ในปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อดับภัยเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญ หนึ่งของเชียงใหม่ และราคาเช่าหาก็ยังอยู่แค่เพียงหลักพ้นกลางๆ เท่านั้น ผู้คนทั้งหลายต่างเก็บสะสม และหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง
บทความพระเกจิคณาจารย์ยอดนิยมแนะนำ:เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระสังกัจายน์เนื้อผสมพิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ พัทลุง

พระสังกัจายน์เนื้อผสมพิมพ์ใหญ่ 

หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ พัทลุง



หลวงพ่อดิษฐ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า ที่พี่น้องชาวใต้ให้ความเคารพนับถือกันมาก และท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์สาย สำนักเขาอ้อ องค์หนึ่งเหมือนกัน ซึ่งยี่ห้อนี้พอรับประกันคุณภาพได้ในด้านพุทธาคม ส่วนมากวัตถุมงคลของท่านจะเป็นเนื้อโลหะ เพราะสมัยที่ท่านยังไม่ละสังขารมีชีวิตอยู่ ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ จะสังเกตว่าวัตถุมงคลของท่านที่ดังๆ เช่น พระปิดตา หรือ พระสังกัจจายน์จะเป็นเนื้อโลหะ ผสมแร่ธาตุต่างๆ
พระสังกัจจายน์ เนื้อหานอกจากเป็นโลหะผสมแล้วยังมีแร่ปรอท ให้เห็นตามเนื้อและผิวองค์พระทั่วไปบางองค์จะเห็นแร่พรวนผสมในเนื้อองค์พระดูแพรวพราวไปทั้งองค์ พระสังกัจจายน์ของท่านมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เล่นหากันแรงขึ้นทุกวัน

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

พระนามรุ่น พระกริ่งชนะคน 2481

พระกริ่งชนะคน

สมเด็จพระสังฆราชแพ ติสสเทวมหาเถร วัดสุทัศน์เทพวราราม

สร้างตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ จำนวนสร้าง ๒๓ องค์

พระกริ่งชนะคนนี้ จัดเททองในวาระพิเศษมิใช่วันเพ็ญเดือน ๑๒ ด้วยเหตุที่คณะศิษย์ที่นำโดย พระครูพิศาลสรคุณ(อาจารย์ นิรันดร์ แดงวิจิตรในขณะนั้น) กราบทูลสมเด็จพระสังฆราชฯ ขอประทานอนุญาตจัดพิธีเททองหล่อบูชา โดยจัดเทเป็นพระบูชาปางประจำวันของศิษย์แต่ละคน และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชฯ เมตตาเป็นประธานเททองหล่อ และทรงรับสั่งให้นำหุ่นพระกริ่งมาติดชนวนกับพระบูชาแต่ละองค์และให้ถือพระกริ่งนี้เป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัว โดยให้ศิษย์ที่จะเทหล่อพระเตรียมเนื้อชนวนมา และพระองค์ท่านจะผสมทองชนวนเก่าให้ พร้อมกับแผ่นดวงชะตาของศิษย์แต่ละคนลงในเบ้าหลอม และเมื่อเทหล่อแล้วเสร็จในพระบูชาประจำวันแต่ละองค์จะมีพระกริ่งหล่อติดอยู่ด้วย จากนั้นนายช่างจะทำการตัดพระกริ่งจากพระบูชามาแต่งเก็บความเรียบร้อย พร้อมอุดรูบรรจุเม็ดกริ่งตรงบริเวณระหว่างบัวกลีบแรกและกลีบสุดท้าย และท้ายสุดจำนำพระกริ่งไปชุบน้ำยา ซึ่งน้ำยานี้เป็นน้ำยาเดียวกับพระกริ่ง พ.ศ.๒๔๗๙ และพระกริ่งหน้าอินเดีย พ.ศ.๒๔๘๒ มีลักษณะคล้ายน้ำยารมดำ แต่จะมีความหนากว่าน้ำยารมดำมาก


ด้วยเหตุที่เป็นพระประจำตัวของศิษย์แต่ละคน สมเด็จจึงมีรับสั่งให้ศิษย์แต่ละท่านนำทองชนวนมาผสมกับทองชนวนเก่าของเจ้าพระคุณสมเด็จฯพร้อมแผ่นดวงชาตาของแต่ละท่านลงเทหลอม ฉะนั้นจึงเป็นเหตุให้พระกริ่งชนะคนี้มีวรรณะที่ต่างกัน
บทความพระปิดตาเมืองระยองแนะนำ : พระปิดตาหลวงพ่อสาคร

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

เหรียญหล่อโบราณ รุ่นแรก หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส

เหรียญหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก

หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส

หลวงพ่อกล่อม หรือ พระครูวิธูรธรรมศาสตร์ นามเดิมคือ กล่อม แก้วกล่อม ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ที่บ้านริมคลองท่ากูบ ต.มะขามเตี้ย จ.สุราษฎร์ธานี ในวัยเด็กศึกษาหนังสือไทยและขอมที่วัดโพธาวาส เมื่อเติบใหญ่ได้แต่งงานมีครอบครัว แต่ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาส จึงตัดสินใจอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๔ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ ณ พัทธสีมาวัดโพธาวาส โดยมีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าอาวาสวัดโพธาวาส และเจ้าคณะเมืองกาญจนดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อกล่อมเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรม มุ่งมั่นปฎิบัติวิปัสสนาธุระจนเป็นที่เคารพศรัทธาของพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านทั้งหลายต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๒ พระครูสุวรรณรังสี ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดกลาง หลวงพ่อกล่อม จึงได้รับตำแห่งเจ้าอาวาส วัดโพธาวาสสืบต่อมา ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อกล่อมชาวบ้านจึงมักเรียกชื่อท่านว่า พ่อท่านกล่อม
เล่ากันว่าหลวงพ่อกล่อมเป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาอาคมสามารถบริกรรมคาถาให้เรือที่จอดอยู่บนคานแล่นลงน้ำได้อย่างอัศจรรย์ นอกจากนี้ท่านยังสามารถบริกรรมคาถาสะกดจระเข้ได้เช่นเดียวกับ พ่อท่านคล้าย แห่งวัดสวนขัน หลวงพ่อกล่อม ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ สิริอายุ ๘๖ ปี พรรษาที่ ๖๒
วัตถุมงคลของท่านส่วนใหญ่ท่านจะสร้าง ตะกรุดและสาลิกาลิ้นทอง แต่ของที่นิยมและหายากที่สุดเห็นจะเป็น เหรียญหล่อรูปเหมือนรุ่นแรก ที่สร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๐ โดยทำการหล่อกันที่โรงครัวจึงมักเรียกกันว่า รุ่นโรงครัว ลักษณะเป็นเหรียญหล่อแบบโบราณทรงกลมรี หูขวาง หล่อด้วยเนื้อทองผสม เงินหัวนะโม และทองคำที่ชาวบ้านนำมาถวายใส่เบ้าหลอม
ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อกล่อมเต็มรูปครองจีวรรรัดประคด พาดผ้าสังฆาฎิ นั่งขัดสมาธิเอามือจับเข่าทั้งสองข้าง ใต้ผ้ารองนั่งจารึกปีที่สร้าง พ.ศ.๒๔๗๐ ขอบเหรียญภายในคู่ขนานบรรจุอักขระขอม ด้านหลังเป็น ยันต์ห้า และอักขระขอม เนื่องจากเป็นการ หล่อแบบโบราณ เหรียญจึงมักชำรุดหรือติดไม่เต็มพิมพ์ เหรียญหล่อรูปเหมือนที่สมบูรณ์แบบจริงๆจึงมีน้อยมาก
พุทธคุณ โดดเด่นด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย
บทความพระใหม่แนะนำ : พ่อท่านผอม ถาวโร วัดไทรขาม

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ปี 2483

เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ปี 2483

 

เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ที่ระบุ พ.ศ. เก่าที่สุดดูเหมือนจะเป็นเหรียญ พ.ศ. 2483 รูปแบบงดงามมาก โดยจำลองพุทธลักษณะของหลวงพ่อเพชรประทับนั่งอยู่ภายใต้ฉัตร 9 ชั้น ล้อมรอบด้วยโบว์หางแซงแซวสบัดอ่อนไหวและบนโบว์เป็นอักษรไทยความว่า พระหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน พ.ศ. 2483 มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ พิมพ์หนึ่งองค์หลวงพ่อดูล่ำสันกว่าอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งดูชะลูดกว่า ด้านหลังเป็นยันต์แปดมุม ตรงกลางยันต์เป็นอักษรขอมคือตัว นะ ด้านบนติดเข็มกลัดไว้ทุกเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อเพชร ที่ได้รับความนิยมรองลงมาได้แก่ เหรียญรูปซุ้มเรืองแก้วซึ่งเข้าใจว่าเป็นเหรียญรุ่น 2 แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญปั๊มส่วนมากเป็นเหรียญเนื้อทองแดงด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อสถิตย์อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ล้อมรอบด้วยอักขระขอม 9 ตัว ที่เรียกว่า นวหรคุณ คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ด้านล่างลงมาเป็นพระนามของท่านคือ หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ด้านหลังเป็นยันต์องค์พระและนะวิเศษ ประกอบด้วยอักขระ อักษรขอมคือ นะ มะ พะ ทะ มะ อะ อุ และแถวล่างสุดคือ นะ มะ พะ ทะ
เหรียญหลวงพ่อเพชรเป็นเหรียญที่ปรากฎพุทธคุณดีเด่นในทางปกป้องคุ้มครองมีปรากฎการณ์ลือกระฉ่อนเมื่อครั้งสงครามอินโดจีนมาเนิ่นนานแล้ว
บทความพระเครื่องเมืองระยองแนะนำ:หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อิทธิฤทธิ์เจ้าแม่ตะเคียนคู่ วัดโบสถ์ดอนพรหม

อิทธิฤทธิ์เจ้าแม่ตะเคียนคู่ 

วัดโบสถ์ดอนพรหม บันดาลโชคลาภ

 

มีความเชื่อมายาวนานว่า ต้นตะเคียนนั้นเป็นไม้ใหญ่ที่มีความเฮี้ยนมากเพราะมีผีสิงอยู่ ซึ่งผู้คนต่างกลัวเกรงและหวาดหวั่นเมื่อต้องเดินผ่านหรืออยู่ในบ้านไม้ที่มีเสาเรือนทำด้วยไม้ตะเคียน
โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องต้นตะเคียนคู่ มักมีพลังงานที่ผิดปกติอยู่ และยิ่งปลูกใกล้กัน ก็จะยิ่งมีความเฮี้ยน ที่เป็นเช่นนี้ อาจเพราะข้อสันนิษฐานที่ว่า ต้นตะเคียนเป็นไม้ใหญ่และทรงคุณค่า
บรรพบุรุษไทยจึงสร้างกุศโลบายถึงความเฮี้ยนด้วยความเชื่อที่ว่าต้นตะเคียนมีผีสิงอยู่ ซึ่งหวงที่อยู่และดุร้ายหากมีคนจะมาตัดหรือลุกล้ำเขตแดน เพื่อไม่ให้ใครกล้าไปตัด
ในสมัยโบราณหากจะนำไม้ตะเคียนใช้ประโยชน์ จะต้องทำพิธีบวงสรวงขออนุญาต ซึ่งนางตะเคียนก็จะเปลี่ยนมาสิงสถิตตามไม้ตะเคียนที่ถูกแปรรูป บางบ้านที่เอาต้นตะเคียนมาทำเสา พอมีน้ำมันไหลซึมออกมาก็ต้องนำไปเซ่นไหว้บูชา ส่วนต้นที่อยู่ในป่าจะมีผ้าแดงไปคาดไว้เพื่อไม่ให้ผู้คนไปลบหลู่
ในเรื่องของโชคลาภและเลขมงคลนั้น เชื่อกันว่าหากใครเซ่นไหว้บูชานางตะเคียนที่อยู่ในต้นตะเคียนให้เกิดความพึงพอใจแล้วล่ะก็ นางก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในโชคลาภ
ดังเช่นเรื่องราวของต้นตะเคียนคู่แห่งวัดโบสถ์ดอนพรหม จังหวัดนนทบุรี ที่มีผู้ศรัทธามากมายจนถึงกับมีการจัดสร้างศาลเจ้าแม่ตะเคียนเอาไว้ระหว่างต้นตะเคียนทั้งสองต้น พร้อมทั้งอุปกรณ์เสี่ยงโชคหาเลขมงคลได้แก่การเสี่ยงเซียมซี
รวมถึงสิ่งที่ยืนยันการให้โชคลาภและเลขมงคลก็คือ เครื่องเซ่นไหว้ เครื่องสักการบูชา ตุ๊กตาแก้บนจำนวนมากวางอยู่ใกล้ๆต้นตะเคียนเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้นำมาแก้บนหรือสักการะทุกวันมิได้ขาด
รวมพระเครื่องเมืองระยองแนะนำ:หลวงพ่อสาคร