พระใหม่พลาซ่า


พระใหม่

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี

พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี



พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป ตำบลรั้วใหญ่อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พระกรุพระเก่า พระในตระกูลพระชุนแผนยอดนิยม อีกกรุหนึ่งของเมืองบรรหาร-แจ่มใสบุรี พระแตกกรุขึ้นกรุมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ที่แตกกรุออกมาล่วงหน้านั้นเกิด จากสภาพองค์พระเจดีย์ที่มีอายุหลายร้อยปีชำรุดเสียหายทำให้เกิดการค้นพบ พระเนื้อดินเผา หลากหลายพิมพ์เป็นที่รู้จัก และ ได้รับความนิยมจาก ท่านผู้นิยมสะสมพระเครื่อง โดยทั่วไป
พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก องค์นี้เป็นพระที่ขึ้นกรุวัดพระรูป ด้วยมีการขึ้นกรุหลายกรุด้วยกัน เช่น กรุวัดละคร กรุวัดปากแสงจันทร์ วัด ประตูสาร และ ในแต่ละกรุที่ขึ้นนั้นมีจำนวนน้อย ประมาณไม่เกิน ๕๐๐ ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากเท่าไรมักหากเปรียบเทียบกันกับพระเนื้อดินพิมพ์ อื่นๆ ที่ขึ้นกรุมาพร้อมกัน เช่น พระชุดกิมตึ๋ง นารายณ์สี่กร มอญแปลงรูป เป็นต้น ด้วยพระพุทธคุณที่เชื่อกันว่า ดีเด่นทั้งทางด้านคงกระพันชาตรี และ เมตตามหาเสน่ห์ ที่เป็นคุณลักษณะพิเศษของ ขุนแผนแสนสะท้าน เจ้าเมือง สุพรรณบุรีในสมัยแผ่นดินของ สมเด็จพระพันวษา แผ่นดินอโยธยาศรีราม เทพนคร ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยากว่าหนึ่งร้อยปี
พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูปเป็นพระที่มีเนื้อดิน ละเอียดหนึกนุ่มปราศจากเม็ดกรวดเป็นทรายทองเม็ดทรายเงิน ที่มีความ แตกต่างไปจาก เนื้อดินของ พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุ? ด้วยมีขอส้นนิษฐานเกี่ยวกับยุคสมัยในการสร้าง พระ ขุนแผน กรุวัดพระรูป มีอายุในการสรางประมาณ หกร้อยกว่าปี หลังจากการ สร้างพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง ห่างกันถึงกว่าหนึ่งร้อยปี ดังนั้น ค่าราคา ความนิยมในการแลกเปลี่ยนของ พระขุนแผน พิมพ์แตงกวาฝาฯ!ก กรุวัด พระรูป อยู่ที่หลักหมี่นกลาง ๆ แต่ในความหายากแล้ว จัดว่าหาได้ยากแบบ สุด ๆ แบบเลือดตาแทบกระเด็นกว่าจะมีโอกาสพบเจอได้เห็นสกองค์หนึ่ง และ ยิ่งแบบสวยระดับแชมป์ ๔ โล่ อย่างองค์ดาราองค์นี้เจ้าของยงสุดหวง ไม่ยอมเปิดราคาขาย จึงไม่มีโอกาสที่จะได้ต่อรองราคาก้นเลย
ไม่ยอมเปิดราคาขาย จึงไม่มีโอกาสที่จะได้ต่อรองราคากันเลย
บทความพระเครื่องน่าสนใจแนะนำ : อิทธิฤทธิ์เจ้าแม่ตะเคียนคู่

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระขุนแผนพลายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ

พระขุนแผนพลายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ



พระผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม เริ่มต้นสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2515    เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้กับผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ในงานผูกพัทธสีมา
อุโบสถวัดละหารไร่ ว่ากันว่าหลวงปู่ทิมไต้ตั้งใจสร้าง “ผงพรายกุมารมหา ภูติ” ผสมลงในเนื้อพระ เพื่อให้วัตถุมงคลชุดนี้มีความเข้มขลัง
“พระขุนแผนผงพรายกุมาร” คือหนึ่งในวัตถุมงคลยอดนิยมของ หลวงปูทิม มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก และแยกเป็น 2 บล็อกคือบล็อก ลองพิมพ์ เนื้อหาค่อนข้างหยาบ หรือที่เรียกกันว่า “เนื้อกระยาสารท” ด้าน หลังไม่ฝังตะกรุด ส่วนบล็อกนิยมหรือบล็อกแรก พิมพ์ทรงสวยงาม พิมพ์
ใหญ่ด้านหลังมีทั้งแบบฝังตะกรุดและไม่ได้ฝัง ตะกรูด ส่วนพิมพ์เล็กไม่ฝังตะกรุด
ด้านเนื้อหามีหลากหลายสี อาทิ เนื้อดำ เนื้อเหลือง เนื้อแดง เนื้อชมพู ส่วนใหญ่ องค์พระจะทาทองบรอนซ์ที่ผิว และที่พิเศษคือ จะมี “พิมพ์ใหญ่บล็อกแรก หลังแบบ” ซึ่งหา ยากมาก ปัจจุบันมีแต่คนตามหาเพื่อครอบครอง เป็นเจ้าของ
อานุภาพของพระผงพรายกุมาร... บอกได้คำเดียวว่าเกินบรรยาย
บทความพระกริ่งพระชัยวัฒน์ยอดนิยมแนะนำ:พระกริ่งชนะคน

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เหรียญหลวงพ่อดับภัยรุ่นแรก ปี 2518 จ.เชียงใหม่

เหรียญหลวงพ่อดับภัย รุ่นแรก
วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่


หลวงพ่อดับภัย แห่งวัดดับภัย เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา เชียงแสนยุคแรก หรือเรียกกันเป็นภาษาซาวบ้านว่าพระเชียงแสนสิงห์ 1 พุทธลักษณะปางมารวิชัย ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ประวัติการสร้าง สลับซับซ้อนแต่คาดว่าน่าจะสร้างประมาณปีพ.ศ. 1600- 1800
ปัจจุบันนี้ประชาชนทั้งหลายต่างก็ให้ความเคารพบูชาในองค์ หลวงพ่อดับภัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมักประสบเหตุการณ์แคล้ว คลาดจากโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุและอุบัติภัยต่างๆ นานาจนเป็นที่ เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ผู้แสวงหาโชคลาภต่างก็มาขอมิได้ชาดสาย และ สมประสงค์ที่ตนตั้งไว้ไปตามๆ กัน แม้กระทั่งนักนิยมเดินทางทำงาน ในทางที่เสียงๆจะต้องนำรูปเทียนมาขอพรจากหลวงพ่อดับภัยเสมอ เพื่อให้ปลอดภัยจากการเดินทาง ท่านจะกราบสักการะบูชาขอพร จากหลวงพ่อดับภัยได้ทุกเวลาในพระวิหารวัดดับภัย
พิธีมหาพุทธาภิเษกเหรียญหลวงพ่อดับภัยรุ่นแรกเมื่อวันที่ 1 - 3 พฤษภาคม 2518 นั้นพระอธิการบุญชม ปภสฺสโร เจ้าอาวาสวัด ดับภัยพร้อมคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างเหรียญพระพุทธวัดดับภัยขึ้น เพื่อนำรายได้ทั้งหมดสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ โดยสร้างเป็น หลายเนื้อจำแนกได้ดังนี้
1.    เนื้อทองคำ ตามสั่งจอง
2.    เนื้อเงิน ตามสั่ง'จอง
3.    เนื้อนวะโลหะแก่เงิน 9,999 เหรียญ
4.    เนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ
5.    เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ 9 เหรียญ

พระเกจิอาจารย์ร่วมพิธีมากมายอาทิเช่น หลวงปู่คำแสน วัด สวนดอก, หลวงปู่แสน วัดป่าดอนมูล,หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง, หลวงพ่อสนิท วัดช่างฆ้อง, ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี และ อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก เป็นต้น
ในปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อดับภัยเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญ หนึ่งของเชียงใหม่ และราคาเช่าหาก็ยังอยู่แค่เพียงหลักพ้นกลางๆ เท่านั้น ผู้คนทั้งหลายต่างเก็บสะสม และหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง
บทความพระเกจิคณาจารย์ยอดนิยมแนะนำ:เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน